แนวทางการจัดทำแผนพัฒนา 3 ปี

  • PDFพิมพ์อีเมล

แนวทางการจัดทำแผนพัฒนาสามปี (พ.ศ. 2556 - 2558) ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

          เพื่อให้การบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นไปเพื่อประโยชน์ของประชาชนโดยมีแผนพัฒนาเป็นเครื่องมือ  ดังนั้น เมื่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้รับกรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัดแล้วให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นพิจารณาดำเนินการ  ดังนี้ 
          1. เตรียมการจัดทำแผนพัฒนาสามปี โดยจัดประชุมประชาคมท้องถิ่นเพื่อแจ้งแนวทางการพัฒนาตามกรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอ รับทราบสภาพปัญหา ความต้องการของประชาชนและข้อมูลการพัฒนาที่เกี่ยวข้อง แล้วกำหนดประเด็นการพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทั้งนี้ให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในเดือนกุมภาพันธ์ – มีนาคม 2555 โดยให้พิจารณาดำเนินการ ดังนี้
              1) เตรียมการจัดทำแผนพัฒนาสามปี (พ.ศ. 2556-2558) ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อาจจะทบทวนจากแผนพัฒนาสามปี (พ.ศ. 2555-2557) โดยนำโครงการที่กำหนดไว้จะดำเนินการในปี 2555 และ 2556 มาใช้หรืออาจพิจารณาทบทวน ปรับปรุง โดยการกำหนดรายละเอียด วัตถุประสงค์ เป้าหมาย งบประมาณหรือจัดลำดับความสำคัญของโครงการใหม่และเพิ่มเติมโครงการสำหรับปี 2557 กรณีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้กำหนดเป้าหมายระยะเวลาของแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาโดยมีระยะเวลาปีสุดท้ายของแผนฯ คือ ปี 2558 ซึ่งอาจจะมีผลกระทบต่อการจัดทำแผนพัฒนาสามปี (พ.ศ. 2556-2558) เพื่อให้การจัดทำแผนพัฒนาสามปี (พ.ศ. 2556-2558) ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินการต่อไปได้ โดยมีแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาเป็นเครื่องมือกำหนดทิศทางการพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จึงควรจัดทำ/ทบทวนแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาฉบับปัจจุบัน เพื่อกำหนดทิศทางการพัฒนาและห้วงระยะเวลาให้ครอบคลุมแผนพัฒนาสามปี โดยมีแนวทางการจัดทำ/ทบทวนแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 
               2) ให้จัดทำแผนพัฒนาสามปีให้มีความสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  กรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัด และแผนพัฒนาระดับต่างๆ เพื่อให้บรรลุตามจุดมุ่งหมายเพื่อการพัฒนา
               3) เสริมสร้างทุนเพื่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน โดยการนำทุนของประเทศที่มีศักยภาพและความได้เปรียบด้านอัตลักษณ์และคุณค่าของชาติ  ทั้ง “ทุนสังคม”,  “ทุนเศรษฐกิจ” และ “ทุนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม” มาใช้ประโยชน์อย่างบูรณาการและเกื้อกูลกัน พร้อมทั้งเสริมสร้างให้แข็งแกร่งเป็นเสมือนเสาเข็มหลักในการพัฒนาประเทศได้อย่างมั่นคง
               4) การดำเนินงานเมืองน่าอยู่ ชุมชนน่าอยู่ ด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในสังคมใน 5 มิติ คือ มิติเมืองปลอดภัย มิติเมืองสะอาด มิติเมืองคุณภาพชีวิต มิติเมืองธรรมาภิบาลและมิติเมืองวัฒนธรรม  
               5) ให้นำข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.)  ข้อมูลพื้นฐานระดับหมู่บ้าน (กชช.2ค) และข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาจากหน่วยงานต่างๆ มาพิจารณาประกอบการจัดทำแผนพัฒนาสามปี
               6) ให้คำนึงถึงการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทต่างๆ อย่างเหมาะสม ในกรณีที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีการจัดทำผังเมืองหรือผังตำบลแล้วให้ใช้ผังเมืองหรือผังตำบลเป็นข้อมูลในการจัดทำแผนพัฒนาสามปีด้วย
               7) ให้คำนึงถึงหลักการบูรณาการโครงการ ระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้วยกันและระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับหน่วยงานอื่นๆ กล่าวคือ โครงการที่มีวัตถุประสงค์ร่วมกันและสามารถจัดกิจกรรมสนับสนุนซึ่งกันและกันได้ หรือโครงการลักษณะ/ประเภทเดียวกันที่มีสถานที่ตั้งอยู่ในเขตติดต่อกัน หากสามารถจัดทำโครงการพร้อมกัน ซึ่งสามารถประสานรูปแบบหรืองบประมาณให้มีลักษณะสอดคล้องต่อเนื่องกันแล้ว ให้ทำการประสานและบูรณาการโครงการ เพื่อลดความซ้ำซ้อน  ประหยัดงบประมาณและทำให้ประชาชนได้รับประโยชน์มากยิ่งขึ้น
               8) แผนพัฒนาสามปี จะมีลักษณะเป็นการกำหนดรายละเอียดของโครงการพัฒนาภายใต้ยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนา ดังนั้นในการจัดทำโครงการให้คำนึงถึงความเป็นไปได้ในการปฏิบัติ โดยคำนึงถึงสถานะทางการคลังของท้องถิ่น และความจำเป็นเร่งด่วนที่ต้องดำเนินการ ทั้งนี้ เพื่อให้แผนพัฒนาสามปีเป็นกรอบในการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีที่ใกล้เคียงความจริง และในการจัดทำโครงการให้มีการจัดลำดับความสำคัญ ความเร่งด่วนของโครงการ กล่าวคือ โครงการที่มีผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของประชาชนและมีความจำเป็นเร่งด่วนมากต้องนำไปปฏิบัติก่อน โดยอาจแยกประเภทของโครงการออกอย่างน้อยเป็น 3 ประเภท  คือ
                     1) โครงการที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินการเอง
                     2) โครงการที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอุดหนุนให้หน่วยงานอื่นดำเนินการตามที่มีระเบียบ กฎหมายกำหนดไว้
                     3) โครงการที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขอรับการสนับสนุนจากหน่วยงานอื่น รวมทั้งโครงการที่เกินศักยภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
               9) ใช้หลักการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาสามปี โดย
                    1)ให้สนับสนุนให้มีการจัดทำแผนชุมชนให้เกิดขึ้นในทุกพื้นที่ โดยการให้คำแนะนำในการจัดทำ ให้ความช่วยเหลือทางวิชาการ  สนับสนุนข้อมูลเพื่อการจัดทำแผนชุมชน สนับสนุนการจัดทำเวทีประชาคมและพิจารณานำโครงการ/กิจกรรม  ที่ต้องดำเนินการร่วมกับชุมชน หรือโครงการ/กิจกรรมที่เกินขีดความสามารถชุมชนมาบรรจุไว้ในแผนพัฒนาสามปี
                    2)ให้พิจารณานำโครงการ/กิจกรรม ที่เป็นปัญหาความต้องการของประชาชนจากการจัดเวทีประชาคมท้องถิ่นมาบรรจุไว้ในแผนพัฒนาสามปี ทั้งนี้เพื่อสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมในพื้นที่  บูรณาการจัดทำแผนพัฒนา  เพื่อเป็นจุดเชื่อมต่อยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับปัญหาความต้องการของประชาชน  ซึ่งจะนำไปสู่ความเห็นพ้องต้องกันและการทำงานร่วมกันของภาคีการพัฒนาต่างๆ ในพื้นที่ เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจแห่งรัฐ ความมีประสิทธิภาพ ความคุ้มค่า และตอบสนองความต้องการของประชาชน
การมีส่วนร่วมของประชาชน ถือเป็นกระบวนการสำคัญที่ต้องดำเนินการ และต้องมีประชาคมเข้าร่วมประชุมทุกครั้ง  และมีการจัดทำบันทึกรายงานการประชุม เพื่อเป็นการตรวจสอบ ติดตามและประเมินผลการทำงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจากภาคประชาชน  และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในภายหลัง
               10) ให้ความสำคัญกับหลักการทำงานของคณะรัฐมนตรี โดยยึดหลัก 4ป คือ โปร่งใส  เป็นธรรม  ประหยัด  ประสิทธิภาพ เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติ

          2. คณะกรรมการสนับสนุนการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นจัดทำร่างแผนพัฒนาสามปี และคณะกรรมการพัฒนาท้องถิ่นพิจารณาร่างแผนพัฒนาสามปี ทั้งนี้ให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในเดือนเมษายน- พฤษภาคม 2555

          3. ผู้บริหารท้องถิ่นพิจารณาอนุมัติ/ประกาศใช้แผนพัฒนาสามปี ทั้งนี้ให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในเดือนพฤษภาคม- มิถุนายน 2555 สำหรับองค์การบริหารส่วนตำบลให้เสนอร่างแผนพัฒนาสามปีต่อสภาองค์การบริหารส่วนตำบลเพื่อให้ความเห็นชอบก่อนแล้วนายกองค์การบริหารส่วนตำบล จึงพิจารณาอนุมัติและประกาศใช้ ดังนั้น หากสภาองค์การบริหารส่วนตำบลมิได้กำหนดสมัยประชุมสามัญไว้ในเดือนมิถุนายน 2555 ให้เสนอขอเปิดประชุมวิสามัญ เพื่อพิจารณาร่างแผนพัฒนาสามปี โดยให้พิจารณาดำเนินการและเสนอนายกองค์การบริหารส่วนตำบลอนุมัติและประกาศใช้ให้แล้วเสร็จภายในเดือนมิถุนายน 2555

          4. เมื่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประกาศให้แผนพัฒนาสามปีแล้ว ให้ผู้บริหารท้องถิ่นส่งแผนพัฒนาสามปีให้คณะกรรมการประสานแผนพัฒนาท้องถิ่นระดับอำเภอ เพื่อดำเนินการต่อไป (สำหรับแผนพัฒนาสามปีขององค์การบริหารส่วนจังหวัด  ให้ส่งไปยังคณะกรรมการประสานแผนพัฒนาท้องถิ่นระดับจังหวัด)


.:: มาตรการภายในป้องกันการทุจริต ::.

.:: รายงานผลการดำเนินงาน ::.

.:: ติดต่อสอบถามเรา ::.

เลขที่ 233 หมู่ที่ 11 บ้านแดง ต.บ้านแดง
อ.พิบูลย์รักษ์  จังหวัดอุดรธานี 41130

: 0 4225 8179
: 0 4225 8179-13
: saraban@bandang.go.th
: อบต.บ้านแดง อำเภอพิบูลย์รักษ์
: www.bandang.go.th

.:: จำนวนผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ ::.

mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterวันนี้933
mod_vvisit_counterเมื่อวานนี้1235
mod_vvisit_counterสัปดาห์นี้2168
mod_vvisit_counterสัปดาห์ที่แล้ว10138
mod_vvisit_counterเดือนนี้25078
mod_vvisit_counterเดือนที่แล้ว53187
mod_vvisit_counterรวมทั้งหมด1816289

We have: 41 guests online
IP ของคุณ: 54.157.61.194
 , 
วันที่ 19 มี.ค. 2024
Home+ แผนพัฒนาท้องถิ่นแนวทางการจัดทำแผนพัฒนา 3 ปี

.:: ลิงค์แนะนำ ::.